Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ครบรอบ 26 ปี! ย้อนรอย 2 ก.ค.2540 ‘ลอยตัวค่าเงินบาท’ จุดเริ่มต้น ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’

ครบรอบ 26 ปี! ย้อนรอย 2 ก.ค.2540 ‘ลอยตัวค่าเงินบาท’ จุดเริ่มต้น ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’

วิกฤติการณ์การเงิน 2540 หรือ ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) วิกฤติครั้งนั้นส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสร้างความเสียหายอย่างมากต่อประเทศไทย และส่งผลไปถึงภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชียจนเป็นวิกฤติทางการเงินในที่สุด

วิกฤติเริ่มปะทุขึ้นเมื่อค่าเงินบาทถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของภาคเศรษฐกิจการเงินไทยในขณะนั้น กล่าวคือ ก่อนที่จะเกิดวิกฤติ เงินทุนเอกชนไหลเข้ามาอย่างมากจากการลงทุนโดยการกู้ยืมของเอกชนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ จนเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ ซึ่งนำไปสู่เงินทุนและการกู้ยืมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะที่ประเทศไทยดำเนินอัตราแลกเปลี่ยนแบบค่อนข้างคงที่ ซึ่งเป็นนโยบายการเงินในขณะนั้น แม้นโยบายจะสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงิน ทว่ากลับทำให้ผู้กู้และผู้ให้กู้ยืมต่างก็ประเมินความเสี่ยงจากการเปิดรับเงินตราต่างประเทศที่ต่ำเกินไป ทำให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างระยะเวลาของตราสารทางการเงินในภาคธนาคาร และความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณเงินต่างประเทศในงบการเงินของภาคเอกชน การกู้ยืมเงินจำนวนมากจึงกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญของระบบเศรษฐกิจ

ที่สำคัญคือ ความไม่สมดุลของตราสารทางการเงินในภาคธนาคารเป็น ‘การกู้สั้น ลงทุนยาว’ กล่าวคือ เป็นการยืมเงินตราต่างประเทศประเภทระยะสั้น แต่มาให้สินเชื่อประเภทระยะยาวกับโครงการก่อสร้างภายในประเทศ ความไม่สมดุลเช่นนี้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงกับระบบเศรษฐกิจจากการไหลออกของเงินทุนมากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ในอีกด้านหนึ่ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงอย่างต่อเนื่องจนเรียกได้ว่าเป็น ‘ยุคทอง’ ของเศรษฐกิจไทยก็มีส่วนทำให้ภาคธนาคารไม่มีความสามารถประเมินความเสี่ยงได้เพียงพอ และการกำกับดูแลสินเชื่อขาดความรัดกุมรอบคอบถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการผ่อนปรนการกำกับดูแลสถาบันการเงินจนทำให้การเติบโตของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น การให้ใบอนุญาตก่อตั้งสถาบันการเงินที่ง่ายเกินไป ส่งผลให้เมื่อเจอปัญหาสภาพคล่องจากการถอนเงินลงทุนจากต่างชาติ สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ล้มละลาย หรือถูกสั่งปิดกิจการ เกิดเป็นวิกฤติการณ์การเงินที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ และต่อประชาชนวงกว้าง

สาเหตุของวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติการเงินปี 2540 ดังนี้

1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ปี 2530-2539 คือ ช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำในช่วงก่อนวิกฤติตัวเลขขาดดุลสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่หดตัวลงอย่างรุนแรงในปี 2539 (ในปี 2539 การส่งออกขยายตัวเพียงแค่ 1.9% เท่านั้น จากที่เคยขยายตัวสูงถึง 24.82% ในปีก่อนหน้า และเป็นการหดตัวอย่างรุนแรงครั้งแรก ตั้งแต่ประเทศไทยปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 2510)

2.ปัญหาหนี้ต่างประเทศ
ช่วงปี 2532-2537 ประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงินทำให้สามารถพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก โดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากค่าเงินกำหนดไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ผู้กู้ยืมสามารถยืมเงินและคืนเงินกู้ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้ในอัตราดังกล่าว ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยประกาศรับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2533 เพื่อเปิดระบบการเงินของประเทศไทยสู่สากล และในเดือนเมษายน 2534 ประกาศผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ในที่สุดเดือนกันยายน 2535 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ต่อมามีธนาคารพาณิชย์ 46 แห่งได้รับมอบใบอนุญาตให้ดำเนินการได้เมื่อเดือนมีนาคม 2536 ทำให้เกิดการขยายตัวของระบบการเงินของประเทศที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ขึ้นมากในสถาบันการเงินและการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศเพื่อปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในเมืองไทย

ณ ปลายปี 2540 หนี้ต่างประเทศของไทยปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มีสัดส่วนถึง 65% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และสัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 70.40% ขณะที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยนคำพูดจาก pg slot เว็บใหม่

3.การลงทุนเกินตัวและฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ช่วงปี 2530-2539 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเป็นอย่างมากทั้งในรูปที่ดิน ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และอาคารชุด ที่มีราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่กำลังเฟื่องฟู เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศได้ง่าย นอกจากนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เกิดการเก็งกำไร และเกิดแรงจูงใจให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้อย่างมาก เช่น การซื้อขายใบจองบ้าน ที่ดิน อาคารชุด จนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ฝังตัวอยู่ในเศรษฐกิจของประเทศ

4.ความไม่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
ปลายปี 2539 ประเทศไทยเกิดปัญหาขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงกับสถาบันการเงินในประเทศ จนรัฐบาลต้องสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง และธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง ต่อมาเดือนมีนาคม 2540 กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่ง และเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 รัฐบาลต้องสั่งปิดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 16 แห่ง วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่ง โดยรัฐบาลใช้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF) หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ เมื่อลูกหนี้เริ่มไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคที่มีปัญหาการลงทุนเกินกว่ากำลังซื้อของตลาดมากที่สุดและทำให้ธนาคารเกิดปัญหาสภาพคล่อง โดยมี NPL สูงสุดถึง 52.3% ของสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2542

ปัญหา NPL จำนวนมากสะท้อนให้เห็นว่าช่วงก่อนวิกฤติ กระบวนการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินเป็นไปอย่างหละหลวม ไม่ได้พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ หรือความสามารถในการชำระเงินคืนอย่างถ่องแท้ มีการปล่อยสินเชื่อให้แก่พวกพ้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองอย่างกว้างขวาง

5.ความไม่มีประสิทธิภาพต่อการดำเนินนโยบาย
ปี 2536 ประเทศไทยมีนโยบายให้มีการจัดตั้ง BIBF อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี แต่ไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการที่ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ ทำให้ระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศไม่มีเสถียรภาพ กล่าวคือ เมื่อมีปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ธปท. พยายามดูดซับสภาพคล่องเพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนโดยการขายพันธบัตร แต่กลับยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่แล้ว ยิ่งสูงขึ้น และทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามามากยิ่งขึ้นอีก กลายเป็นวัฏจักรที่ไม่รู้จบ

นอกจากนั้นแล้ว มาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความหละหลวมของการปล่อยกู้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว กฎเกณฑ์การกำกับดูแลไม่เข้มงวดเพียงพอที่จะทำให้สถาบันการเงินมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง

6.การโจมตีค่าเงินบาท (currency attack)
ปัญหาเศรษฐกิจที่สะสมมานานทำให้นักลงทุนต่างชาติถือโอกาสโจมตีค่าเงินบาท ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และนักลงทุนสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยจัดตั้งเป็นกองทุนที่เรียกว่า Quantum Fund (กองทุนนี้เป็นที่รู้จักทั่วโลก เพราะบริหารโดย George Soros) และนักลงทุนอื่นๆ รวมถึงธนาคารพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนกับการเก็งกำไรค่าเงินบาทอีกเช่นกัน

ในการโจมตีค่าเงินบาท กลุ่มนักลงทุนเน้นทำลายความเชื่อมั่นของค่าเงิน โดยอาศัยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแอ (การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก การมีหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ) มาสร้างกระแสเพื่อให้เกิดข่าวลือว่าจะมีการลดค่าเงินบาท เมื่อตลาดเชื่อข่าวลือก็ทำให้มีการขายเงินบาทหนีไปถือเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นจำนวนมาก ธปท. จึงนำเงินทุนสำรองทางการถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมดมาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจนทำให้เงินสำรองทางการเหลืออยู่เพียง 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปลายปี 2539 ที่มีถึง 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จนในที่สุดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธปท. ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และถือเป็นวันเริ่มต้นแห่งการเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจไทย

(ที่มา : บทความ ‘ถอดบทเรียนวิกฤตต้มยำกุ้ง’ ธนาคารแห่งประเทศไทย)