Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ‘แบงก์ชาติ’เผยยอดต่างชาติเข้าไทย 1.3 ล้านคน ชี้เศรษฐกิจกำลังฟื้น

‘แบงก์ชาติ’เผยยอดต่างชาติเข้าไทย 1.3 ล้านคน ชี้เศรษฐกิจกำลังฟื้น

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาปรับดีขึ้น โดยเห็นการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวจากการเปิดประเทศมีต่างชาติเข้าเที่ยวไทย 520,000 คน ทำให้ตั้งแต่ต้นปีมารวม 5 เดือน มีต่างชาติเข้าเที่ยวไทยแล้ว 1.3 ล้านคน ทำธุรกิจในภาคบริการปรับดีขึ้น ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งปรับดีขึ้น แต่การค้าลดลงจากการจับจ่ายใช้สอยลดลง เพราะกำลังซื้ออ่อนแอ ขณะที่ตลาดแรงงานเห็นสัญญาณฟื้นตัว ประกอบกับมีความเชื่อมั่นผู้ประกอบอาชีพอิสระปรับดีขึ้นหลายเดือน ส่วนจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ทยอยเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ด้านสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า มาจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เพราะนักลงทุนได้กังวลว่าธนาคารกลางทั่วโลกได้เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอเงินเฟ้อ และมีเรื่องความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน รวมทั้งเศรษฐกิจจีนชะลอตัว แต่เงินบาทที่อ่อนค่าไม่ได้อ่อนสุดในภูมิภาค อยู่ในระดับกลางๆ เช่นเดียวกับค่าเงินบาทในเดือนมิ.ย. อ่อนค่าต่อเนื่อง หลังนักลงทุนกังวลธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เร่งขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงเกิดเศรษฐกิจชะลอลงในระยะข้างหน้า จึงระมัดระวังลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย ทำให้เงินสกุลตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง

ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. อยู่ที่ 7.1% เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน เพราะราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งยังคาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่สูงที่สุดในไตรมาส 3 นี้ ก่อนจะทยอยปรับลดลง ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ไม่ได้หวือหวา แต่ไปได้

น.ส.ชญาวดี กล่าวว่า เมื่อสอบถามผู้ประกอบการในเดือน มิ.ย. พบว่า ในเดือน มิ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ธุรกิจภาพรวมแนวโน้มปรับดีขึ้น แต่ต้นทุนราคาสินค้าสูงกดดันการฟื้นตัว โดยกลุ่มภาคการผลิต ปรับดีขึ้น ส่งออกอาหาร ได้รับอานิสงส์หลายประเทศงดส่งออกอาหาร ส่วนโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่งสินค้าดีขึ้น มาจากนักท่องเที่ยวกลับมาดีและการฟื้นตัวกิจกรรมเศรษฐกิจ ด้านอสังหาริมทรัพย์ ยังมีความต้องการบ้านแนวราบแต่ค่าครองชีพสูงจึงยังทรงตัว และกังวลดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นด้วย

ขณะที่ การค้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังมีราคาปรับเพิ่มกดดันอยู่ และกำลังซื้อประชาชนอ่อนแอ เช่นเดียวกับสินค้าคงทน เช่น รถยนต์มีส่วนยอดการผลิตและจัดส่ง บางรุ่นปรับดีขึ้น แต่บางรุ่นยอดจองชะลอ จากชิพขาดแคลน ทำให้คนชะลอตัดสินใจซื้อ และยังมาจากกำลังซื้ออ่อนแอด้วย