Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • “ฝุ่นรูปหางแมว” ปริศนาของระบบดาวเคราะห์ “เบตา พิกทอริส”

“ฝุ่นรูปหางแมว” ปริศนาของระบบดาวเคราะห์ “เบตา พิกทอริส”

“เบตา พิกทอริส” (Beta Pictoris) คือระบบดาวเคราะห์อายุน้อยที่อยู่ห่างจากโลกไปเพียง 63 ปีแสง ซึ่งยังคงสร้างความสนใจให้กับนักดาราศาสตร์ได้ แม้จะมีการศึกษาเชิงลึกมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม

เบตา พิกทอริส มีลักษณะเด่นคือ มีจานฝุ่น (Dust Disk) อยู่ 2 แผ่น แผ่นแรกอยู่รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง เป็นจานฝุ่นที่เกิดจากการชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และเศษดาวเคราะห์ ส่วนจานฝุ่นแผ่นที่สองถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซา ซึ่งเผยให้เห็นจานฝุ่นซึ่งมีความเอียงกว่าเมื่อเทียบกับจานฝุ่นแผ่นแรก

ยานสำรวจนาซาเตรียมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในประวัติศาสตร์

เห็นวงแหวนชัดกว่าเดิม! “เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพใหม่ “ดาวยูเรนัส”

ยาน “เพอร์เซเวียแรนซ์” ของนาซา พบเบาะแสใหม่ ยืนยันดาวอังคารเคยมีน้ำ

ล่าสุด ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ (JWST) เพื่อมองหารายละเอียดที่อาจไม่เคยเห็นมาก่อนเมื่อถ่ายด้วยฮับเบิล และพวกเขาก็ได้พบกับโครงสร้างใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจริง ๆ

ทีมววิจัยที่นำโดย อิซาเบล เรโบลลิโด จากศูนย์ชีวดาราศาสตร์ในสเปน ใช้กล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (NIRCam) และกล้องอินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) ของเว็บบ์ เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของจานฝุ่นแผ่นหลักและแผ่นรองที่เคยตรวจพบก่อนหน้านี้

ผลลัพธ์เกินความคาดหมาย พวกเขาพบกิ่งก้านของฝุ่นที่มีความโน้มเอียงอย่างมาก จนดูแล้วมีรูปร่างคล้ายกับ “หางแมว” ตามที่เห็นบริเวณด้านขวาของภาพ

เรโบลลิโดกล่าวว่า “เบตา พิกทอริส เป็นจานฝุ่นเศษซากที่มีทุกอย่าง มันมีดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้และสว่างมากซึ่งเราสามารถศึกษาได้ดีมาก และมีสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนซึ่งมีแผ่นจานหลายองค์ประกอบ มีดาวหาง และดาวเคราะห์นอกระบบที่เราถ่ายภาพไว้ได้ 2 ดวง”

เธอเสริมว่า การศึกษาก่อน ๆ ไม่มีความไวและความละเอียดเชิงพื้นที่ของกล้องเว็บบ์ ดังนั้นจึงตรวจไม่พบคุณลักษณะนี้

ในการตรวจจับหางแมว พบว่ามันปรากฏในข้อมูลอินฟราเรดระยะกลางเท่านั้น และมันยังเผยให้เห็นความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างจานฝุ่นทั้งสองแผ่นของเบตา พิกทอริส ซึ่งอาจเป็นเพราะองค์ประกอบที่แตกต่างกันคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย

คริสโตเฟอร์ สตาร์ก จากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “เราไม่ได้คาดหวังว่าเว็บบ์จะเปิดเผยให้เห็นว่ามีจานฝุ่น 2 ประเภทที่แตกต่างกันรอบ ๆ เบตา พิกทอริส แต่ MIRI แสดงให้เราทราบอย่างชัดเจนว่า บริเวณที่จานรองและหางแมวนั้นมีความร้อนมากกว่าจานแผ่นหลัก”

เขาเสริมว่า “ฝุ่นที่ก่อตัวเป็นจานฝุ่นและหางแมวจะต้องมืดมาก ดังนั้นเราจึงมองเห็นมันได้ไม่ง่ายในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ แต่ในช่วงอินฟราเรดระยะกลางจะสว่างจ้าเลย”

เพื่ออธิบายอุณหภูมิที่ร้อนกว่าของจานรองและหางแมว ทีมงานสรุปได้ว่า ฝุ่นในเบตา พิกทอริส อาจเป็น “วัตถุอินทรีย์ทนไฟ” ที่โปร่งหรือมีรูพรุน คล้ายกับสสารที่พบบนพื้นผิวของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะของเรา เช่น ตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยเบนนู (Bennu) ในภารกิจโอซิริส-เร็กซ์ (OSIRIS-REx) ของนาซา ก็พบว่ามันมืดมากและอุดมไปด้วยคาร์บอน

อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญยังคงอยู่ นั่นคือ รูปร่างที่เป็นหางแมวเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะมันเป็นลักษณะโค้งที่ไม่เหมือนใคร โดยไม่เหมือนกับจานฝุ่นรอบดาวดวงอื่นที่เคยพบ

เรโบลลิโกและทีมงานสร้างแบบจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพยายามเลียนแบบการเกิดฝุ่นหางแมวและไขความลับต้นกำเนิดของมัน แม้ว่าจะต้องมีการวิจัยและทดสอบเพิ่มเติม แต่ทีมงานก็ได้เสนอสมมติฐานหนึ่งว่า หางแมวที่เห็นอาจเป็นผลมาจากเหตุการณ์การเกิดฝุ่นเมื่อ 100 ปีก่อน

มาร์แชล เพอร์ริน จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “มีบางอย่างเกิดขึ้น เช่น การชนกัน และมีฝุ่นเกิดขึ้นมากมาย ในตอนแรก ฝุ่นเคลื่อนไปในทิศทางการโคจรเดียวกันกับแหล่งกำเนิด แต่ต่อมาฝุ่นก็เริ่มกระจายออกไป แสงจากดาวฤกษ์ผลักอนุภาคฝุ่นที่เล็กที่สุดและฟูที่สุดออกจากดาวฤกษ์เร็วขึ้น ในขณะที่เม็ดที่ใหญ่กว่านั้นไม่ได้เคลื่อนที่มากนัก ทำให้เกิดฝุ่นที่เลื้อยเป็นเส้นยาว”

เรียบเรียงจาก NASA

พยากรณ์อากาศ 11 -20 ม.ค. เตรียมรับมือฝนถล่มหลายพื้นที่!

เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี

 “ฝุ่นรูปหางแมว” ปริศนาของระบบดาวเคราะห์ “เบตา พิกทอริส”

“อาจารย์แมน” แจง “ลงนะดาก” ทำตามลูกค้าขอ-ยันทำได้ทุกจุด!