Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ค่าเงินบาทแข็งค่า 34.01 บาท จับตาการเมืองในประเทศไม่แน่นอน

ค่าเงินบาทแข็งค่า 34.01 บาท จับตาการเมืองในประเทศไม่แน่นอน

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 20 ก.ค. อยู่ที่ระดับ 34.01 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 34.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.85-34.15 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในช่วง 34.00-34.19 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ และการพลิกกลับมาอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ท่ามกลางภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด หลังบริษัทจดทะเบียนในฝั่งสหรัฐ ส่วนใหญ่ต่างรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาด

บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐ ยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่ออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ ก็ถูกกดดันโดยการปรับตัวลดลงของหุ้นเทคฯ ใหญ่ ทั้ง Alphabet -1.4%, Microsoft -1.2% จากรายงานว่า Apple กำลังพัฒนา AI เพื่อมาแข่งกับ ChatGPT ของทาง Microsoft และ Bard ของ Google (Alphabet) ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาดเพียง +0.24%

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 ปรับตัวขึ้นต่อ +0.26% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นในฝั่งตลาดหุ้นอังกฤษ (ดัชนี FTSE100 อังกฤษ พุ่งขึ้น +1.8%) หลังอัตราเงินเฟ้ออังกฤษชะลอลงมากกว่าคาด ทำให้ตลาดต่างคาดหวังว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) อาจขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปยังคงถูกกดดันโดยการปรับตัวลงของบรรดาหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (LVMH -1.0%, Dior -0.6%) ตามความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ระยะยาวเคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงแรกบอนด์ยีลด์ระยะยาวย่อตัวลงบ้าง หลังตลาดปรับลดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของ BOE ตามรายงานอัตราเงินเฟ้ออังกฤษล่าสุดที่ชะลอลงกว่าคาด (เดิมตลาดมอง BOE อาจขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ 6.50% แต่ล่าสุด ตลาดมองเพียง 5.75%-6.00%) อย่างไรก็ดี บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโดยรวม ได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวปรับตัวขึ้นได้บ้าง โดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 3.75% (แกว่งตัวในกรอบ 3.70%-3.80% ในช่วงวันก่อนหน้า)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าลงของเงินปอนด์ (GBP) จากรายงานอัตราเงินเฟ้ออังกฤษที่ชะลอลงกว่าคาด ก่อนที่เงินดอลลาร์จะย่อตัวลงบ้าง ท่ามกลางภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ส่งผลให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 100.2 จุด (กรอบการเคลื่อนไหว 100.2-100.4 จุด ในช่วงคืนที่ผ่านมา)

ในส่วนของราคาทองคำ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโดยรวม และการเคลื่อนไหวในกรอบของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ทำให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,980 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นบางส่วนอาจยังคงทยอยขายทำกำไรทองคำและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในคืนที่ผ่านมา

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานภาวะตลาดแรงงานสหรัฐ ผ่านรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็จะมีผลต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้ในช่วงนี้

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจรวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เรามองว่า ควรติดตามสถานการณ์การเมืองไทย หลังล่าสุดการโหวตเลือกนายกฯ อาจยืดเยื้อและยังมีความไม่แน่นอนอยู่พอสมควร ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจกระทบต่อมุมมองของนักลงทุนต่างชาติต่อการลงทุนในสินทรัพย์ไทยได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทอาจเริ่มชะลอลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์เริ่มรีบาวด์แข็งค่าขึ้นได้บ้าง ขณะเดียวกัน ปัจจัยการเมืองในประเทศก็มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติได้ โดยมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติอาจเลือกขายทำกำไรสถานะถือครองหุ้นไทย/Futures ออกมาก่อนได้ โดยเฉพาะในจังหวะที่ดัชนีหุ้นใหญ่ อย่าง SET50 เริ่มชะลอการปรับตัวขึ้นและอาจติดโซนแนวต้านในระยะสั้นได้คำพูดจาก เว็บพนันออนไลน์

นอกจากนี้ เรายังคงเห็นแรงซื้อของบรรดาผู้เล่นในตลาด โดยเฉพาะผู้นำเข้ากลับเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะในช่วงโซน 33.90-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ช่วงดังกล่าวอาจยังพอเป็นแนวรับได้บ้าง แต่หากเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นหลุดโซนดังกล่าว เรามองว่า แนวรับถัดไปก็ไม่น่าจะต่ำกว่าระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์

ส่วนแนวต้านเงินบาทในช่วงนี้ อาจอยู่ในโซน 34.20 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าจะเห็นปัจจัยเสี่ยงเข้ามากดดันให้เงินบาทอ่อนค่าชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเมืองในประเทศ หรือ ปัจจัยภายนอก อย่าง ทิศทางของเงินดอลลาร์ (ซึ่งปัจจุบัน เงินดอลลาร์ก็ยังไม่ได้กลับตัวเป็นขาขึ้นชัดเจนอีกครั้ง)